บางคนอาจจะยังไม่รู้ตัวว่าจริงๆแล้วตัวเองหายใจไม่ถูกต้อง หลายคนอาจจะมีคำถามว่า
ฉันหายใจไม่ถูกต้องตรงไหน เนี่ยฉันก็หายใจเข้าหายใจออกมันก็ถูกต้องแล้วไหมอะ ทุกคนกำลังเข้าใจผิดจ้าจริงๆแล้วการหายใจที่ถูกต้องไม่ได้มีแค่เพียงหายใจเข้า-ออกอย่างเดียวนะคะ ทุกๆคนลองสังเกตตัวเองดูดีๆนะคะ เวลาเราหายออกท้องเราจะพองขึ้น ส่วนเวลาหายใจเข้าท้องเราจะแฟบลง ใช่ไหมล่ะคะ แต่จริงๆแล้ววิธีการหายใจที่ถูกต้องนั้น เวลาที่เราหายใจเข้าท้องเราจะต้องพองขึ้น ส่วนเวลาหายใจออกนั้นท้องเราก็จะแฟบลงไปนั้นเองนะคะ
หลักการง่ายสำหรับการหายใจ เพื่อให้สุขภาพดีได้
- ให้เราหายใจเข้า พร้อมนับ 1-4 (นับในใจก็พอนะจ๊ะ)
- ให้กลั้นหายใจ พร้อมนับ 1-7
- และให้หายใจออก พร้อมนับ 1-8 นะจ๊ะทูกกกกคลลลลลลล
กระบวนการทำงานของระบบหายใจ การหายใจเข้าจะเป็นการหายใจเพื่อรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และการหายใจออกจะเป็นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากปอดเป็นการนำของเสียหรือสารพิษที่อยู่ในปอดเราออกมา จากหลักการข้างต้นจะเห็นว่ามีการหายใจออกนานกว่าการหายใจเข้า เพื่อที่จะนำสารพิษหรืออากาศที่ไม่ดีในปอดออกให้หมดแล้วค่อยหายใจเข้าเติมอากาศดีเข้าสู่ปอดนั่นเองจ้า
วิธีการหายใจที่ถูกต้องอาจจะไม่ได้ช่วยรักษาโรคทางกายภาพได้โดยตรง แต่การหายใจที่ถูกต้องจะทำให้ช่วยลดความตึงเครียดลงได้ ลองสังเกตตัวเองดูนะคะเมื่อเรามีการจดจ่อกับลมหายใจมากขึ้น เราก็จะมีสมาธิมากขึ้น ละทิ้งสิ่งต่างๆที่ทำให้เกิดความเครียดได้มากขึ้น จิตใจเราก็จะสงบลง ไม่ทุกข์ร้อน ทุรนทุราย ทำให้การทำงานหรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกันและยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างการได้เป็นอย่างดี
ทุกๆคนลองนำวิธีนี้ไปใช้ดูนะคะ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย แต่ก็จะแอบยากหน่อยในช่วงแรกๆ ฝึกไปทีละนิดทีละหน่อย โดยอาจจะฝึกช่วงตื่นนอนและช่วงก่อนนอน ครั้งละ 2-5 นาที แล้วค่อยเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆนะคะ เมื่อสุขภาพจิตเราดีขึ้น สงบลง ก็จะส่งผลที่ดีต่อสุขภาพทางกายได้นะคะ
***อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะจ๊ะทุกคนนนนนนเราเป็นห่วง^^
ในปัจจุบัน นอกจากการรักษาทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพแล้วนั้น
ยังมีวิธีการรักษาอีกอย่างหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่นิยมใช้ในการบำบัดรักษามาก
และทางการแพทย์เองยังได้นำวิธีการรักษาในรูปแบบนี้เข้ารักษาผู้ป่วยร่วมกับการรักษาสมัยใหม่ด้วย
นั่นก็คือ “วิธีการธรรมชาติบำบัด” ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการธรรมชาติ จะมีหลากหลายวิธีมาก
ขึ้นอยู่กับเราหรือแพทย์จะเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสมแหละเห็นผลได้ดีที่สุดค่ะ และวันนี้เราจะยกตัวอย่างการรักษาด้วยธรรมชาติ นั่นก็คือ “สุคนธบำบัด”
สุคนธบำบัด คือศิลปะและวิทยาศาสตร์ของการใช้น้ำมันหอมละเหยเพื่อสร้างเสริมและปรับสมดุลร่างกาย
จิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาณและความผาสุก มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษ คือ Aroma
Therapy (อะโรมาเทอราพี) ซึ่งเป็นการผสมของศัพท์ 2 คำ คือ Aroma
ซึ่งหมายถึง
กลิ่นหอม และ Therapy ซึ่งมายถึง การบำบัด
คำว่ากลิ่นหอมในที่นี้หมายถึงกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพืช
มีศัพท์ที่ใช้ตามข้อกำหนดของราชบัณฑิตสถาน คือ คันธบำบัด และมีคำที่นิยมใช้ เช่น
สุวคนธบำบัด
วิธีการรักษาด้วยกลิ่น มักจะพบมากในแถบยุโรป
ซึ่งการรักษาในรูปแบบนี้มีมาตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน มักจะเป็นการใช้น้ำมันหอมระเหย
เพื่อส่งเสริมหรือรักษาความสมดุลทางเคมีและฟิสิกส์ของเหลวในร่างกายเพื่อบำบัดอาการของโรคและในปัจจุบันมีการใช้เพื่อเสริมสร้างความงามอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น สกัดจากดอกลาเวนเดอร์ สกัดจากดอกกุหลาบ จากดอกมะลิ ดอกคามูมาย
สกัดจากยูคาลิปตัส โหระพา เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การรักษาด้วยกลิ่นจะใช้น้ำมันหอมละเหยเป็นตัวไปกระตุ้นระบบประสาท
เนื่องจากน้ำมันหอมละเหยจะมีโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถกระตุ้นการรับกลิ่นขอจมูกและสมองได้
จึงทำให้ระบบภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการสมดุลในร่างกาย สุดท้ายก็จะส่งผลให้ร่างกายเยียวยารักษาตัวเองไปและยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาอีกด้วย
ประโยชน์ของการใช้
“สุคนธบำบัด”
ü
ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
ü
บรรเทาความเครียด ความวิตกกังวล
และอาการซึมเศร้า
ü
ช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้น
ü
ช่วยย่อยอาหาร
ü
ลดความดันโลหิต
ü
ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
ประโยชน์ของการใช้ “สุคนธบำบัด” นั้นมีมากมาย
แต่ในทางกลับกัน เมื่อมีผลดีแล้ว ก็ต้องมีผลเสียตามมาด้วย นั้นก็คือ “สุคนธบำบัด”
เป็นวิธีการบำบัดที่ต้องใช้น้ำมันหอมระเหยช่วยในการกระตุ้น
ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจะต้องสกัดจากพืชเพียงเท่านั้น ทำให้สกัดได้น้อย ปัจจุบันจึงทำให้มีการสังเคราะห์ขึ้นมาซึ่งจะมีสารเคมีและเมื่อใช้ไม่ถูกวิธีทำให้ได้รับสารเคมีมากไปเป็นอันตรายกับร่างกายมนุษย์เราได้
รูปภาพโดย Google
ดูแลสุขภาพกายเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ เมื่อสุขภาพกายแข็งแรง ไม่เจ็บ ไข้ ได้ป่วยอะไรถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐมากๆ แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆเช่นเดียวกันนั่นก็คือ "สุขภาพจิต" เป็นสิ่งที่มนุษย์เราทุกคนจะต้องให้ความสำคัญ "
สุขภาพกาย"และ "
สุขภาพจิต" เป็นสิ่งเราจะต้องให้ความสำคัญ ดูแลและรักษาไปพร้อมๆกัน
หากเขาให้ความสำคัญกับการดูแลรักษา"
สุขภาพกาย" แต่ไม่ดูแลรักษา "
สุขภาพจิต" เลย ก็จะทำให้เรามีร่างกายที่แข็งแรง(ชั่วคราว)แต่เมื่อ "
สุขภาพจิต" เราอ่อนแอลง ก็จะทำให้เราไม่อยากทำอะไร คิดอะไรไม่ออก เศร้าหมอง รู้กสึกโดดเดี่ยว ไร้เรี่ยวแรงในที่สุด และสุดท้ายอาจจะถึงแก่ความตายเลยก็ว่าได้
ดังนั้นเราทุกๆคนจะต้องดูแลรักษาทั้ง "
สุขภาพกาย" และ "
สุขภาพจิต" ไปควบคู่กัน
วิธีการดูแลสุขภาพกาย
1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. ทานอาหารให้มีประโยชน์และทานให้ครบ 5 หมู่
3. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างการ
4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ
6. รักษาสุขภาพจิต
วิธีการรักษาสุขภาพ
1. ฝึกสมาธิ
2. พัฒนนาทักษะ ความคิดหรือสมอง ตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง
3. หมั่นตรวจสอบตัวเอง
4. ไม่วิตกกังวลจนเกินไป
5. ให้เวลาให้อยู่กับตัวเองมากยิ่งขึ้น
6. สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างให้เป็นอย่างดี
7. คิดและทำแต่สิ่งดีๆ
8. พักผ่อนให้เพียงพอ
จะเห็นได้ว่าวิธีที่จะทำให้เรามีสุขภาพกายที่แข็งแรงก็คือการดูแลสุภาพจิต และวิธีที่จะทำให้สุขภาพจิตเราแข็งแรงหนึ่งในนั้นก็คือการที่ทำให้ร่างกายเราแข็งแรงนั่นเอง
สุดท้ายนี้ในช่วงที่เชื่อไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดอย่ารุนแรง เราก็อยากจะให้ทุกๆท่านดูแลรักษาสุขภาพกาย-ใจ ให้แข็งแรง อย่าวิตกจนเกินไป ฟังข้อมูลข่าวสารต่างๆ เรียนรู้และป้องกันตัวเองและครอบครัวให้ดีที่สุด
หญิงรักหญิง มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่?
HIV สามารถติดได้ผ่านสารคัดหลั่งในร่างกายของคนเราเท่านั้น
สารคัดหลั่งที่ว่าก็คือของเหลว ในร่างกายของเรา อันได้แก่ เลือด
น้ำอสุจิ(ในผู้ชาย) น้ำเมือกในช่องคลอดผู้หญิง น้ำเหลือง น้ำนม ส่วน น้ำลายนั้นจะติดได้ก็ต่อเมื่อมีน้ำลายเป็นจำนวนมากเป็นลิตรๆ
ดังนั้นหญิงรักหญิงก็สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้เช่นเดียวกัน
ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV อาจจะมาจาก
1.ผ่านการออรัลเซ็กส์
หรือการใช้ลิ้นกับอวัยวะเพศของอีกคน
ซึ่งจะสามารถติดได้ในกรณีลิ้นของคนที่ทำหน้าที่ออรัลเซ็กส์เป็นแผล
หรือมีเลือดออกตามไรฟัน (ต้องเป็นแผลใหญ่พอสมควรค่ะ)
แล้วไปสัมผัสกับน้ำเมือกจากช่องคลอดของอีกคน
2.ใช้อวัยวะเพศเสียดสีกัน
ซึ่งมีโอกาสที่น้ำเมือกของอีกฝ่ายจะเข้าสู่ร่างกายของอีกฝ่ายได้ และดูท่าว่า
จะหาอะไร มาใช้ในการเซฟได้ยากเหมือนกันนะคะ
3.ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน
หมายถึงอย่างนี้ค่ะ เวลาเราใช้ทอยสอดใส่ไปในอวัยวะเพศของคู่เรา (แน่นอนว่า
ก่อนสอดใส่เข้าไปต้องสวมถุงยางด้วยนะคะ) จนเธอไปถึงแล้ว การจะนำมาใช้กับตัวเรา
ต้องมีการเปลี่ยนถุงยาง ไม่ใช่เอาออกมาจากอวัยวะเพศของเธอ
แล้วมาสอดเข้าไปในอวัยวะเพศของเราเลย ไม่ได้นะคะ ต้องเปลี่ยนถุงยาง
4.ใช้นิ้ว มักจะฮิตในหมู่หญิงรักหญิงเช่นกัน
ความจริงมันจะมีถุงยางสวมนิ้วขายนะคะ
สวมแค่นิ้วใดนิ้วหนึ่งที่เราจะสอดเข้าไปในอวัยวะเพศของคู่เราน่ะค่ะ
อันนี้ก็น่าจะทำให้มั่นใจมากขึ้น และยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วยค่ะ
โดยสามารถหาซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ตค่ะ โดยเนื้อถุงยางจะเหมือนถุงยางอนามัยของผู้ชายทั่วไป
ใช้วัสดุเดียวกันและมีสารล่อลื่น โดยออกแบบเพื่อใช้กับนิ้วมือโดยเฉพาะ
จึงกระชับพอดีกับนิ้ว ไม่หลุด เพื่อความสะอาดและลดแรงกระแทกจากปลายนิ้ว(เล็บ)
ทำให้รู้สึกนุ่มนวลมากขึ้นเวลามี sex ระหว่างหญิงรักหญิงค่ะ
สาวๆหมู่หญิงรักหญิงด้วยกัน
แอดขอแนะนำว่า รักกันไม่ผิดหรอกค่ะ แต่หากจะมีอะไรกัน จะต้องป้องกันด้วยนะคะ
ไว้พบกันในบทความต่อๆไปค่ะ บ๊ายบายยย
เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่า
ยิ่งเราแก่ตัวลงไปหลอดเลือดของเราจะเสื่อมสภาพตามกาลเวลา
เมื่อหลอดเลือดแข็งกระด้าง จะเสี่ยงต่อโรคทางหลอดเลือด
.
สายยางฉีดน้ำทิ้งไว้นานๆจะแข็ง แตกหักง่าย
หลอดเลือดของเราก็แตกหักง่ายได้เหมือนกันถ้าไม่ดูแลกันให้ดี
วันนี้ผมจึงปรารถนาดีอยากนำเสนอวิธีการดูแลหลอดเลือด
ให้สุขภาพดี หลอดเลือดอายุเยาว์วัยกว่าอายุตัวเราเอง
จะทำได้อย่างไรนั้นไปดูกันครับ
รายการสำรวจคนญี่ปุ่นที่เดินไปเดินมา
เน้นกลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ใช้อุปกรณ์วัดชีพจร
หาค่าความเร็วคลื่นชีพจรที่เคลื่อนผ่านหลอดเลือด(Pulse Wave Velocity:PWV),ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด, ค่าเฉลี่ยชีพจร(bpm) แล้วมาคำนวณเป็นอายุหลอดเลือด
ส่วนใหญ่จะพบว่าอายุหลอดเลือดจะแก่กว่าอายุจริง
ยิ่งใช้อุปกรณ์แบบเดียวกันวัดคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ก็พบว่า อายุหลอดเลือดมากกว่าอายุจริงมากขึ้นไปอีกครับ
แม่บ้านท่านนี้อายุ 57
วัดอายุหลอดเลือดได้ 66 ปี
อย่างที่รายการไปสำรวจคุณพี่หลายๆ ท่านที่อายุ 50 ปีขี้นไป ได้ค่าเฉลี่ยอายุหลอดเลือดมากกว่าอายุจริง +14 ปีครับ
ทุกคนมีท่าทีตกใจมาก จริงหรอเนี่ย!?
คุณหมอ Iketani บอกว่า
คนเราเกิดมาพร้อมกับหลอดเลือดสุขภาพดี
นิ่มๆ ไม่แข็งกระด้างครับ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป (เมื่อเราแก่ตัวลง)
หลอดเลือดจะหนาขึ้นแข็งขึ้นครับ
นึกถึงสายยางฉีดน้ำถ้าเวลาผ่านไป
สายยางจะสูญเสียสภาพความนิ่ม
เมื่อสายยางแข็งขึ้นมากๆ ก็จะเปราะ
หักง่ายและอันตรายครับ
อย่างภาพนี้เป็นสถิติจากกระทรวงแรงงานและสาธารณสุขญี่ปุ่น
ไล่เรียงคนป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดว่ามากน้อยเพียงใด
เมื่ออายุมากขึ้น จากกราฟนี้จะเห็นว่า
คนอายุ 50-59 เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดมากกว่า
คนอายุ 40-49 ถึง 3 เท่าครับ
อายุเยอะขึ้นมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคหลอดเลือดได้ง่ายต้องระวังไว้
มาถึงพระเอกของบทความนี้แล้วครับ
เราจะมาเสาะหาวิธีทำให้หลอดเลือดเราอายุน้อยลง
(ให้มีสุขภาพดี ไม่แข็งกระด้าง) จะได้ไม่เสี่ยงต่อโรคต่างๆ ครับ
มี 3-4 เรื่องที่จะคุยกัน
เรื่องแรกของวัตถุดิบที่กินเข้าไป
แล้วจะช่วยให้หลอดเลือดนิ่ม
ไม่แข็งกระด้างครับ
จะเป็นอะไรนั้นไปดูกันครับ!
วัตถุดิบทรงพลังที่ช่วยให้หลอดเลือดเราเยาว์วัยได้คือ
หัวหอมครับ!!
ใครชอบหัวหอมอยู่แล้ว ยินดีด้วยนะครับ
ทีนี้เรามาดูว่ากินหัวหอมแล้วหลอดเลือดดีจริงหรือไม่
ไปพิสูจน์เกษตรกรผู้ปลูกหัวหอมกันครับ
บุกไปถึงสวนปลูกที่ AwajiShima จ.เฮียวโกะ
ที่นี่เป็นแหล่งเพาะปลูกหัวหอมชื่อดังในญี่ปุ่นครับ
คุณลุงคุณป้า ฟุนะโคชิวัย 71 และ 78 ทานหัวหอมทุกวัน
โดยคุณป้าบอกว่าเธอใส่หัวหอมลงในมิโสะซุปที่กินในทุกๆ เช้าครับ แค่เห็นภาพก็น้ำลายสออยากกินมั่ง
วัดอายุคุณลุง อายุจริง 78 ปี
แต่วัดอายุหลอดเลือดวัดได้ 63 ครับ
(น้อยกว่าอายุจริงถึง 15 ปีแหน่ะ)
ส่วนคุณป้าอายุจริง 71 วัดได้ 65 ปี
น้อยกว่าอายุจริง 6 ปีครับ ยิ้มร่ากันทั้งคู่เลย
ไปแต่สวนปลูกหัวหอมเดี๋ยวหาว่า Bias เลยบุกไปที่อื่นๆ ด้วย
เช่น ที่ว่าการเมือง Awaji ใต้
เราตรงไปถามเจ้าหน้าที่แผนกการค้า อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว คุณ Kawagami อายุ 57 ปี เขาชอบกินหัวหอมมาก